วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผักบุ้ง

ประสบการณ์ชีวิตของฉันตอนกินผักบุ้ง  ตอนแรกๆฉันก็ไม่เคยกินผักบุ้ง  ตอนนั้นฉันไม่ชอบกินผักเลย  เพราะผักนั้นมีรสขมมาก   แต่วันนั้นพ่อของฉันได้ผัดผักบุ้งกับถั่วดองให้ฉันกินครั้งนั้นรู้สึกว่าผักนั้นไม่ขมอย่างที่ฉันคิดเลย  แถมยังมีประโยชน์ให้สารอาหารแก่ร่างกายของเราด้วย  จากวันนั้นถึงวันนี้ฉันเป็นคนที่ชอบกินผักมากเลย
ความรู้จากการศึกษาเรื่องผักบุ้ง  ผักบุ้งนั้นมีหลายชนิด  ได้แก่ผักบุ้งจีน  ผักบุ้งทะเลฯ  ฉันเลยอยากจะถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนๆที่สนใจในเรื่องผักต่างๆมาสนใจและให้ความสำคัญกับผักบุ้งบ้างว่าผักบุ้งก็มีดีไม่แพ้ผักต่างๆเลย  ประโยชน์ของผักบุ้งก็มีเยอะแยะไปหมด  สารอาหารของผักบุ้งก็มีมากมาย  ฉันจึงอยากจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผักบุ้งให้มากๆ



ผักบุ้ง

ผัดผักบุ้งไทยใส่กะปิ



"ผักบุ้งไทย" เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี และมีเส้นใยสูง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็กด้วย

เห็นถึงคุณประโยชน์ของผักบุ้งไทยขนาดนี้แล้ว เข้าครัวมื้อนี้ เลยขอนำเสนอเมนูที่นำผักบุ้งไทยมาปรุงเป็นอาหารจานเด็ดที่มีชื่อว่า "ผักบุ้งไทยผัดกะปิ" มาเดินหน้าเข้าครัวปรุงกันเลยดีกว่า

ส่วนผสมมีดังนี้
ผักบุ้งไทย 1 กำ (ถ้ากำเล็กก็สัก 2-3 กำ)
กุ้งสด 5 ตัว
พริกขี้หนู 10 เม็ด (หรือตามแต่ชอบว่าต้องการเผ็ดมากเผ็ดน้อย)
กระเทียม 8-10 กลีบเล็ก
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืชเล็กน้อย

สำหรับวิธีการทำเริ่มจากนำผักบุ้งไทยมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ถ้าผักบุ้งต้นใหญ่ก็สามารถผ่าครึ่งผักบุ้งได้ และตบผักบุ้งให้แตก แล้วก็พักทิ้งไว้

ต่อจากนั้นก็นำเอาพริกขี้หนู กระเทียม และกะปิมาโขลกรวมกันให้ละเอียด จากนั้นก็ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันพืชลงไป แล้วก็ตามด้วยพริกขี้หนูกระเทียมกะปิที่โขลกไว้แล้ว และก็ใส่กุ้งลงไปผัดจนสุก ต่อจากนี้ก็ให้ใส่ผักบุ้งไทยลงไปผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันจนผักบุ้งสุก ก็เป็นว่าเสร็จตักใส่จาน กินกับข้าวสวยร้อนๆ อิ่มอร่อยท้องกันไป
 



วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผักบุ้ง

ยำผักบุ้งทอดกรอบ

ส่วนผสมยำผักบุ้งทอดกรอบ
ผักบุ้งสดเด็ดใบ
แป้งทอดกรอบผสมน้ำพอข้น 1 ถ้วย
(แป้งโกกินั่นเอง) น้ำมันสำหรับทอด
ปูอัดหั่นท่อน
กุ้งสดแกะเปลือกผ่าหลังลวก
หมูสับลวก
ปลาหมึกหั่นชิ้นลวก
เครื่องปรุงน้ำยำผักบุ้งทอดกรอบ
หอมแดงซอย 4 หัว
พริกขี้หนูตำ 5 เม็ด
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
ขึ้นฉ่ายสับหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
 
วิธีทำอาหาร ยำผักบุ้งทอดกรอบ
1. ผสมเครื่องปรุงน้ำยำทั้งหมดเข้าด้วยกัน นำเนื้อสัตว์ทั้งหมดลงผสมชิมรสตามชอบ พักไว้
2. นำผักบุ้งไปชุปแป้งแล้วนำไปทอดจนกรอบ ตักขึ้นใส่จาน
ราดด้วยน้ำยำ เสิร์ฟทันที

ผักบุ้ง



ผักบุ้งจีน


ลักษณทั่วไปของผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีน เป็นผักที่สามารถปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตและสามารถปลูกได้ตลอดปี
การเตรียมดินและการปลูก
ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักรากตื้น ขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักใ้ห้ทั่วแปลง หลังจากนั้นหว่านเมล็ดลงให้ทั่วแปลง หรือใช้เมล็ดโรยให้เป็นแถว โดยระยะระหว่างแถวปลู 15 เซนติเมตร แล้วเอาดินกลบ หนา 2-3 เซนติเมตร หลังจากนั้นต้นกล้าจะเริ่มงอกภายใน 2-3 วัน
ถ้าไม่มีบริเวณบ้านต้องการปลูกในกระถางหรือกะบะ ให้เตรียมดินเพาะใส่กระถางให้ร่วนซุย และควรมีใบได้ผุผสมด้วย และนำเมล็ดพันธุ์ลงไปโรยในกระถางเพาะ กลบดินหนา 2-3 เซนติเมตร และรดน้ำตามทันที
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ถ้าต้องการให้เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนงอกเร็วขึ้น ควรนำไปแช่น้ำนาน 4-6 ชั่วโมง ก่อนนำโรยในกระถางหรือแปลง
การดูแลรักษา
  1. หมั่นเก็บวัชพืชที่ขึ้นรบกวนในแปลงปลูกหรือกระถางปลูก โดยใช้มือถอน
  2. การบำรุงความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1ช้อนแกง/พื้นที่ 1 ตารางเมตร และรดน้ำตามทันทีหลังจากใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ควรใส่ทุก 10-15 วัน/ครั้ง และควรงดการใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อใกล้เก็บเกี่ยว 5-7 วัน
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนได้หลังจากปลูกไปแล้วนาน 25-30 วัน สามารถใช้มีดตัดยอด ปล่อยโคนต้นไว้ เหลือต้นตอยาว 1 คืบ และรดน้ำบำรุงดูแลใส่ปุ๋ย ผักบุ้งจีนสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ใหม่อีก 1 รุ่น

ผักบุ้ง

 
 
 
การปลูกผักบุ้ง
ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทย มี ประเภท ผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatic Var. aquatica) มีดอกสีม่วงอ่อน ก้านสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม และก้านใบสีม่วง และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica Var. reptans) ซึ่งมีใบสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกสีขาว ผักบุ้งจีนนิยมนำมาประกอบอาหารกว้างขวางกว่าผักบุ้งไทย จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนาเป็นพืชผักส่งออกที่มีความสำคัญ โดยส่งออกทั้งในรูปผักสด และเมล็ดพันธุ์ การส่งออกเฉพาะผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสดไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะรวมผักบุ้งจีนในหมวดผักสดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผักสดชนิดต่าง ๆ ตลาดที่สำคัญคือฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนประเทศไทยสามารถส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในปี 2538 ปริมาณ 540.6 ตัน มูลค่าการส่งออก 19.8 ล้านบาท
ผักบุ้งจีนใช้เวลาในการงอกเพียง 48 ชั่วโมง ระยะแรกของการเจริญเติบโตจะให้ลำต้นตั้งตรง หลังจากงอกได้ 5-7 วัน จะมีใบเลี้ยงโผล่ออกมา 2 ใบ มีลักษณะปลายใบเป็นแฉก ไม่เหมือนกับใบจริงเมื่อต้นโตในระยะสองสัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งอายุประมาณ 30-45 วัน การเจริญเติบโตจะเปลี่ยนไปในทางทอดยอดและแตกกอ
สำหรับผักบุ้งจีนที่หว่านด้วยเมล็ด การแตกกอจะมีน้อยมาก การแตกกอเป็นการแตกหน่อออกมาจากตาที่อยู่บริเวณโคนต้นที่ติดกับราก มีตาอยู่รอบต้น 3-5 ตา เมื่อแตกแถวออกมาแล้วจะเจริญทอดยอดยาวออกไปเป็นลำต้น มีปล้องข้อ และทุกข้อจะให้ดอกและใบ
1. การเลือกที่ปลูก การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการปลูกผักบุ้งจีนแบบหว่าน หรือโรยเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว 20-25 วัน จะถอนต้นผักบุ้งจีนทั้งต้นและรากออกจากแปลงปลูกไปบริโภคหรือไปจำหน่ายต่อไป ในการปลูกนั้นควรเลือกปลูกในที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สภาพที่ดอน น้ำไม่ท่วม หรือเป็นแบบสวนผักแบบยกร่อง เช่น เขตภาษีเจริญ บางแค กรุงเทพฯ บางบัวทอง นนทบุรี นครปฐม และราชบุรี เป็นต้น ลักษณะดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย เพื่อถอนต้นผักบุ้งจีนได้ง่าย และควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการรดน้ำในช่วงการปลูก และทำความสะอาดต้นและรากผักบุ้งจีนในช่วงการเก็บเกี่ยว
2. การเตรียมดิน ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่มีระบบรากตื้น ในการเตรียมดินควรไถตะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วดำเนินการไถพรวนและขึ้นแปลงปลูก ขนาดแปลงกว้าง 1.5-2 เมตร ยาว 10-15 เมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 40-50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยคอก (มูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย) หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียดพอสมควรปรับหลังแปลงให้เรียบเสมอกัน อย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจะขึ้นไม่สม่ำเสมอทั้งแปลง ถ้าดินปลูกเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับพีเอชของดินให้สูงขึ้น
3. วิธีการปลูก ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนดูดซับน้ำเข้าไปในเมล็ด มีผลให้เมล็ดผักบุ้งจีนงอกเร็วขึ้น และสม่ำเสมอกันดี เมล็ดผักบุ้งจีนที่ลอยน้ำจะเป็นเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำมาเพาะปลูก ถึงแม้จะขึ้นได้บ้าง แต่จะไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจจะเป็นแหล่งทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ดีไม่ลอยน้ำมาหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงให้เมล็ดห่างกันเล็กน้อย ต่อจากนั้นนำดินร่วนหรือขี้เถ้าแกลบดำหว่านกลบเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนหนาประมาณ 2-3 เท่าของความหนาของเมล็ดหรือประมาณ 0.5 เซนติเมตร แต่ถ้าแหล่งที่ปลูกนั้นมีเศษฟางข้าว จะใช้ฟางข้าวคลุมแปลงปลูกบาง ๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน หรือทำให้หน้าดินปลูกผักบุ้งจีนไม่แน่นเกินไป รดน้ำด้วยบัวรดน้ำหรือใช้สายยางติดฝักบัวรดน้ำให้ความชื้น แปลงปลูกผักบุ้งจีนทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน จะงอกเป็นต้นผักบุ้งจีนต่อไป

4. การปฏิบัติดูแลรักษาผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสด
4.1 การให้น้ำ ผักบุ้งจีนเป็นพืชที่ชอบดินปลูกที่ชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะจนมีน้ำขัง ฉะนั้นควรรดน้ำผักบุ้งจีนอยู่เสมอทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ยกเว้นช่วงที่ฝนตกไม่ต้องรดน้ำ อย่าให้แปลงปลูกผักบุ้งจีนขาดน้ำได้ จะทำให้ผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโต คุณภาพไม่ดี ต้นแข็งกระด้าง เหนียว ไม่น่ารับประทาน และเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าปกติ
4.2 การใส่ปุ๋ย ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่บริโภคใบและต้นมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ถ้าดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ หรือมีการใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลสุกร มูลเป็ด ไก่ เป็นต้น ซึ่งปุ๋ยคอกดังกล่าวเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ แต่ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ นอกจากต้องให้ปุ๋ยคอกแล้ว ควรมีการใส่ปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง โดยหว่านปุ๋ยกระจายทั่วทั้งแปลงก่อนปลูกและหลังปลูกผักบุ้งจีนได้ประมาณ 7-10 วัน ซึ่งการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นั้น หลังจากหว่านผักบุ้งจีนลงแปลงแล้ว จะต้องมีการรดน้ำแปลงปลูกผักบุ้งจีนทันที อย่าให้ปุ๋ยเกาะอยู่ที่ชอกใบ จะทำให้ผักบุ้งจีนใบไหม้ ในการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 นั้น จะใช้วิธีการละลายน้ำรด 3-5 วันครั้งก็ได้ โดยใช้อัตราส่วน ปุ๋ยยูเรีย 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะเป็นการช่วยให้ผักบุ้งจีนเจริญเติบโต และเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วขึ้น

4.3 การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ถ้ามีการเตรียมดินดีมีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูกและมีการหว่านผักบุ้งขึ้นสม่ำเสมอกันดี ไม่จำเป็นต้องพรวนดิน เว้นแต่ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนดังกล่าวมีวัชพืชขึ้นมาก ควรมีการถอนวัชพืชออกจากแปลงปลูกอยู่เสมอ 7-10 วันต่อครั้ง ในแหล่งที่ปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการค้าปริมาณมาก ควรมีการพ่นสารคลุมวัชพืชก่อนปลูก 2-3 วัน ต่อจากนั้นจึงค่อยหว่านผักบุ้งจีนปลูก จะประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกผักบุ้งจีนได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
4.4 การเก็บเกี่ยว หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงปลูกได้ 20-25 วัน ผักบุ้งจีนจะเจริญเติบโต มีความสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนออกจากแปลงปลูกทั้งต้นและราก ควรรดน้ำก่อนถอนต้นผักบุ้งจีนขึ้นมาจะถอนผักบุ้งจีนได้สะดวก รากไม่ขาดมาก หลังจากนั้นล้างรากให้สะอาด เด็ดใบและแขนงที่โคนต้นออก นำมาผึ่งไว้ ไม่ควรไว้กลางแดดผักบุ้งจีนจะเหี่ยวเฉาได้ง่าย จัดเรียงต้นผักบุ้งจีนเป็นมัด เตรียมบรรจุภาชนะเพื่อจัดส่งตลาดต่อไป

เมล็ดเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 2-3 วัน
การให้น้ำ



ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

  ผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา ไม่ทำให้ปวดตา สายตาสั้น แสบตา หรือตาแห้ง เป็นเพราะผักบุ้งมีสารที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน A  ที่เรียกว่า เบต้า-แคโรทีนเยอะมาก แล้ววิตามิน A นี้เองเป็นสารที่ช่วยบำรุงสายตา และยังช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงให้ตาเป็นประกาย ไม่แสบ ไม่แห้ง ผักบุ้งมิใช่มีแต่วิตามิน A เท่านั้น วิตามิน C ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน แต่ถ้าอยากได้วิตามิน C จากผักบุ้ง ก็ต้องกินผักบุ้งดิบ ทั้งวิตามิน A และวิตามิน C รวมถึงเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย นอกจากวิตามินแล้ว ผักบุ้งยังมีเกลือแร่ มีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด อีกทั้งแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงกระดูกและฝัน เป็นต้น ผักบุ้งยังช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย เพราะผักบุ้งมีใยอาหาร เรียกได้ว่าประโยชน์ของผักบุ้งมีมากมาย และเหมาะกับคนทุกวัย แต่ใช่ว่าผักบุ้งจะรับประทานเป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียว ยังสามารถรับประทานเป็นยาได้ด้วย ในผักบุ้งมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน และผักบุ้งเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้ (แต่ไม่ควรทานผักบุ้งผัดน้ำมัน เพราะเวลาร้อนในควรจะเลี่ยงอาหารมันๆ) ควรทานผักบุ้งลวกจะดีกว่า แต่ในทางกลับกัน ถ้าทานผักบุ้งมากเกินไปก็จะทำให้ปวดเมื่อยขา และเข่าได้เหมือนกัน ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท คือ ผักบุ้งไทย และผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น
 

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง





ประโยชน์ของผักบุ้ง และสรรพคุณ
ประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณมีมากจริง ๆ นะ ใคร ๆ ก็ชอบพูดว่ากินผักบุ้งแล้วจะทำให้ตาหวานไม่ใช่กินผักบุ้งเพราะว่าเต่านะอย่าเข้าใจผิด อิอิอิ คุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะรู้จักกับเจ้าผักบุ้งเป็นอย่างดีเพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายทั่วไปแล้วยังมีตลอดทั้งปีแถมยังไม่ค่อยแพง วันนี้เราจึงนำคุณ ๆ มารู้จักกับ ประโยชน์ของผักบุ้ง และ ผักบุ้งสรรพคุณ ให้มากขึ้น เพื่อว่าใครที่ยังไม่เคยกินผักบุ้งหรือยังไม่ชอบกินผักบุ้ง เมื่อได้รู้ ประโยชน์ของผักบุ้ง แล้วเชื่อว่าจะหันมารับประทานผักบุ้งกันซะยกใหญ่เลย อีกหนึ่งก็คือ สรรพคุณของผักบุ้ง ยังจัดว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้อีกด้วยนะ ว่าแล้วก็มาดูประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณกันเลยดีกว่าค่ะ